ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: ท่อน้ำดีอักเสบ (Ascending cholangitis)  (อ่าน 81 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: ท่อน้ำดีอักเสบ (Ascending cholangitis)
« เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2024, 14:39:42 น. »
หมอประจำบ้าน: ท่อน้ำดีอักเสบ (Ascending cholangitis)

ท่อน้ำดี (bile ducts) เป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างตับ ถุงน้ำดี และลำไส้เล็กส่วนต้น

การอักเสบของท่อน้ำดีมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากภาวะอุดกั้นของก้อนนิ่ว หรือก้อนเนื้องอก โรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เป็นโลหิตเป็นพิษเสียชีวิตได้

สาเหตุ

การอักเสบของท่อน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากการอุดกั้นของท่อน้ำดี ซึ่งส่วนมากเนื่องมาจากมีก้อนนิ่วอุดกั้น ส่วนน้อยอาจมีการอุดกั้นเนื่องจากก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดี ซึ่งมักจะลุกลามขึ้นไปถึงท่อน้ำดีเล็ก ๆ ที่อยู่ในตับ ซึ่งเรียกว่า ท่อตับ (hepatic ducts)

อาการ

มีไข้สูง หนาวสั่นคล้ายมาลาเรีย ตาเหลือง ตัวเหลือง ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงข้างขวาอาการปวดท้องอาจมีลักษณะปวดรุนแรงเป็นพัก ๆ คล้ายนิ่วน้ำดี


ภาวะแทรกซ้อน

ฝีตับจากแบคทีเรีย

ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีภาวะช็อก โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลว โรคหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลวได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและตรวจพบ ไข้ ตาเหลือง กดเจ็บตรงบริเวณชายโครงขวา และอาจตรวจพบตับโต

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เพาะเชื้อจากเลือด อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง (เช่น ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ เป็นต้น) ให้ยาปฏิชีวนะ และทำการผ่าตัด


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น เสียดแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ หรือปวดตรงชายโครงขวา ควรไปพบ แพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นท่อน้ำดีอักเสบ ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด

ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด

การป้องกัน

โดยการขจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของท่อน้ำดี เช่น เมื่อพบก้อนนิ่ว หรือก้อนเนื้องอก ควรทำการผ่าตัดออก


ข้อแนะนำ

โรคท่อน้ำดีอักเสบจัดว่าเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง มีอัตราตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ หรือเป็นตับแข็ง ผู้ที่มีอาการไข้สูง หนาวสั่น และปวดท้องรุนแรง ซึ่งชวนสงสัยว่าเป็นโรคนี้ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที