ผู้เขียน หัวข้อ: บริการทำความสะอาด: 5 เคล็ดลับทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ห้องน้ำ  (อ่าน 104 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 336
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
บริการทำความสะอาด: 5 เคล็ดลับทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ห้องน้ำ

ปัญหาคราบสกปรกบนโถ สุขภัณฑ์ห้องน้ำ เป็นปัญหาสร้างความรำคาญใจไม่น้อย นอกจากจะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่เจ้าของบ้านแล้ว ยังอาจเป็นที่สะสมของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในครอบครัวได้อีกด้วย แน่นอนว่าการที่สุขภัณฑ์ห้องน้ำทุกชิ้นสะอาดคือเรื่องดี แต่ถ้าต้องทำความสะอาดด้วยสารเคมีบ่อย ๆ ก็ย่อมเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน วันนี้จึงมี 5 เคล็ดลับทำความสะอาดคราบสกปรกบนโถสุขภัณฑ์ด้วยวัตถุดิบที่หาได้ในบ้านคุณ ทำได้ง่าย ๆ ไม่ว่าใครก็ทำได้ แถมยังปลอดภัยหายห่วง


สาเหตุของคราบสกปรกบนโถสุขภัณฑ์ห้องน้ำเกิดจากอะไร ?

1. หินปูน

โดยปกติเมื่อใช้โถสุขภัณฑ์ไปได้ระยะหนึ่งก็จะเริ่มมีหินปูนเกาะอยู่บริเวณต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นคราบเหลืองจากหินปูนที่ไม่น่ามอง และทำให้โถสุขภัณฑ์กลายสภาพเป็นสุขภัณฑ์ที่ดูไม่น่าใช้งานเป็นอย่างยิ่ง


2. เชื้อรา

เนื่องจากภายในห้องน้ำเป็นห้องที่มีความชื้นสูง จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดการสะสมของเชื้อรา กลายเป็นคราบสีดำเกาะอยู่ตามสุขภัณฑ์ห้องน้ำ โดยเฉพาะห้องน้ำที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ซึ่งนอกจากจะไม่น่ามองแล้วเชื้อราก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย


3. ทำความสะอาดไม่เพียงพอ

อีกหนึ่งสาเหตุที่หลายคนมองข้ามคือการทำความสะอาด หากไม่ทำความสะอาดสุขภัณฑ์ห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างล้างหน้า หรือโถสุขภัณฑ์เป็นประจำ หรือทำความสะอาดไม่มากเพียงพอก็ทำให้เกิดคราบสกปรกเกาะได้เช่นกัน

 
5 เคล็ดลับวิธีทำความสะอาดคราบสกปรกบนโถสุขภัณฑ์ห้องน้ำแบบง่าย ๆ

1. น้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชูถือเป็นวัตถุดิบในห้องครัวที่ได้รับความนิยมนำมาทำความสะอาด สุขภัณฑ์ห้องน้ำ อย่างมาก เนื่องจากทำความสะอาดได้ทั้งคราบสีเหลืองเกาะติด และช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น โดยวิธีการง่าย ๆ เพียงเทน้ำส้มสายชู 3 ถ้วยตวงลงในโถสุขภัณฑ์ ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที แล้วขัดคราบสกปรกออก หรือจะใช้วิธีฉีดน้ำส้มสายชูจากขวดสเปร์ยแล้วฉีดให้ทั่วทั้งโถสุขภัณฑ์จากนั้นกดชำระล้างให้เรียบร้อย หากคราบเหลืองยังไม่หลุดออกทดลองเทน้ำส้มสายชูแล้วทิ้งไว้ให้นานขึ้นประมาณ 15 นาที แล้วค่อยขัดออก


2. เบกกิ้งโซดา

อีกหนึ่งวัตถุดิบยอดนิยมจากห้องครัวที่ถูกนำมาใช้ทำความสะอาดสุขภัณฑ์ห้องน้ำคือเบกกิ้งโซดา เพราะนำมาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ได้หลากหลาย โดยนำเบกกิ้งโซดา 1 ส่วน 4 ถ้วยตวง น้ำยาซัก 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำส้มสายชูประมาณ 2-3 หยด นำมาผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อข้นเหนียว จากนั้นนำไปขัดคราบสกปรกภายในห้องน้ำได้เลย นอกจากจะช่วยกำจัดคราบสกปรกแล้ว หากนำไปผสมกับน้ำมันหอมระเหยก็ช่วยสร้างกลิ่นหอมในห้องน้ำได้อีกด้วย


3. น้ำอัดลม

เครื่องดื่มยอดนิยมอย่างน้ำอัดลมนอกจากจะสร้างความสดชื่นแล้วยังนำมาทำความสะอาด สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ได้อีกด้วย โดยเทน้ำอัดลม 2 ถ้วยตวงลงในโถสุขภัณฑ์จากนั้นใส่เบกกิ้งโซดาลงไป 2 ช้อนโต๊ะ และรอประมาณ 5 นาที แล้วขัดคราบสกปรกออกได้ทันที

เนื่องจากกรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) ในน้ำอัดลมเป็นส่วนประกอบหลักที่มีหน้าที่เป็นสารละลายช่วยทำความสะอาดได้ เมื่อใช้เป็นจำนวนมากก็จะกำจัดคราบสกปรกที่เกาะติดแน่นสุขภัณฑ์ได้ เมื่อนำมาผสมกับโซเดียมไบคาบอร์เนต (Sodium Bicarbonate) ในเบกกิ้งโซดาจึงทำความสะอาดและขจัดเชื้อโรคได้ดีมากยิ่งขึ้น

 
4. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรงใช้สำหรับทำความสะอาดแผลและใช้ทางการแพทย์ นอกจากจะช่วยทำความสะอาดแผลแล้วก็นำมาประยุกต์ในห้องน้ำได้ด้วย โดยนำมาพ่นลงบนพื้นผิว สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ที่มีคราบสกปรก และทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นขัดคราบสกปรกออกก็เป็นที่เรียบร้อย แต่ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ก็มีข้อเสียอยู่หนึ่งอย่างคือมีที่กลิ่นค่อนข้างรุนแรง


5. ยาสีฟัน

เป็นที่รู้กันดีว่ายาสีฟันเป็นวัตถุดิบที่มีสารที่ช่วยเคลือบฟันในขณะเดียวกันยาสีฟันก็มีคุณสมบัติกำจัดคราบสกปรกได้อย่างอ่อนโยน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถประยุกต์มานำมาทำความสะอาดโถ สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ได้ด้วยเช่นกัน เพียงป้ายยาสีฟันให้ทั่วบริเวณที่จะทำความสะอาดแล้วนำแปรงมาขัดทำความสะอาดให้เกิดฟอง ทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออกก็เป็นที่เรียบร้อย
ข้อควรระวังในการทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ห้องน้ำ

 
ถึงแม้เราจะสามารถนำสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัวมาเป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดโถ สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ได้ แต่ก็มีข้อที่ควรระวังอยู่เช่นกัน เนื่องจากสารบางชนิดเมื่อผสมรวมเข้าด้วยกันอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษ และทำอันตรายต่อร่างกาย โดยลิสต์ที่ควรระวังมีดังต่อไปนี้

-    ห้ามผสมเบกกิ้งโซดาเข้ากับน้ำส้มสายชู เนื่องจากเบกกิ้งโซดามีค่าเป็นด่าง ส่วนน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรด เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดโซเดียมอะซิเตท ซึ่งถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายกับร่างกายมากนัก แต่ก็อาจกัดกร่อนจนภาชนะที่บรรจุเสียหายได้

-    ห้ามผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับน้ำส้มสายชู เนื่องจากอาจก่อให้เกิดกรดพาราเซติกที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจเมื่อสูดดมเข้าไปได้

-    ห้ามผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำยาฟอกผ้าขาว เนื่องจากจะทำให้เกิดก๊าซคลอรีนที่มีกลิ่นฉุน และเมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้รู้สึกแสบร้อนในตา จมูก และลำคอ นอกจากนี้ยังอาจทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนได้