ผู้เขียน หัวข้อ: เช็กด่วน!! อาการปอดบวมเป็นอย่างไร รู้ไว้ก่อนจะสายเกินแก้  (อ่าน 37 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 858
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
อาการปอดบวมกับกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝน หรือ ช่วงหน้าหนาว แต่อาการดังกล่าวนี้ก็เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้แม้ได้ช่วงเวลาฤดูอื่น ๆ เพียงแต่จะเกิดการอุบัติมากในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวเท่านั้น และเพื่อเป็นการรักษาอาการปอดบวมที่อาจขึ้นกับตัวของคุณเอง หรือ เกิดขึ้นกับคนที่คุณรัก บทความด้านล่างนี้จะเป็นบทความที่ขอพาคุณไปร่วมรู้จักกับโรคปอดบวม

อาการปอดบวมเป็นอย่างไร เช็กเลย!

         โรคปอดบวม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแบบไม่เลือกเลย ซึ่งอาการแสดงออกมานั้น มักแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล รวมไปถึงแล้วแต่สาเหตุของการเกิดโดรคปอดบวมด้วย โดยอาการปอดบวมที่ปรากฎออกมา มีลักษณะดังต่อไปนี้


อาการปอดบวม

    อาการอ่อนเพลีย แม้จะพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็มักมีอาการอ่อนเพลียปรากฎให้เห็นทั้งช่วงเวลากลางวันและเวลากลางคืน
    มีอาการอื่นร่วมเมื่อไอ เมื่อไอจะปรากฎอาการแน่นบริเวณทรวงอก และ อาการแน่นบริเวณทรวงอกจะปรากฎเมื่อจามอีกด้วย
    มีไข้ มีอาการไข้สูงร่วมด้วย นอกจากนี้ก็จะมีอาการหนาวสั่น และ มีเหงื่อออกมากตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

อาการปอดบวม

    เกิดอาการทางระบบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือ อาการท้องเสีย
    อาการไอมีความผิดปกติ ทั้งอาการไอที่เป็นไอแบบแห้ง ๆ หรือ การเกิดเสมหะร่วมด้วย นอกจากนี้ก็พบเสมหะในปอดอีกด้วย
    เกิดอาการแน่นหน้าอก โดยเป็นอาการแน่นหน้าอกที่แตกต่างจากอาการเสียดจุก แต่เป็นอาการแน่นหน้าอกแบบเจ็บในตำแหน่งเดียวกับปอด
    การหายใจที่ผิดไปจากเดิม การหายใจที่ยากลำบาก เกิดอาการหอบถี่เมื่อหายใจ หรือ การหายใจที่เร็วกว่าปกติ

เครื่องพ่นละอองยา อุปกรณ์จำเป็นในการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด

อาการปอดบวม เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?

         หลังจากที่เราทราบกันไปแล้วว่าโรคปอดบวมมีอาการเป็นอย่างไรกันไปแล้ว ซึ่งถ้าหากไม่สังเกตุให้ดีอาการก็จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไปได้ ต่อมาเรามาดูปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคนี้กันค่ะ ซึ่งอาการปอดบวมเกิดได้จากสาเหตุที่หลากหลายมากมาย โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

โรคปอดบวม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปอดบวม

    การติดเชื้อไวรัส อย่างเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือ RSV (Respiratory Syncytial Virus)
    การติดเชื้อแบคทีเรีย อย่างเชื้อ E.coli, Haemophilus influenza (Hip), Mycoplasma หรือ S.pneumoniae
    การติดเชื้อรา อย่างเชื้อ Chlamydia
    สารเคมี ปอดบวม เกิดจากสารเคมีนี้ โดยมากจะเป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการปอดบวม

         นอกจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่ทำให้เราเกิดอาการปอดบวมแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ นั่นก็คือ ปัจจัยภายในของเรานั่นเอง ซึ่งสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะอาการปอดบวมมากกว่าผู้อื่นได้นั้น มีดังต่อไปนี้

ปอดบวม เกิดจาก
กลุ่มเสี่ยงการเกิดอาการปอดบวม

    ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    ผู้สูงอายุ
    ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคตับแข็ง โรคไต หรือ โรคเบาหวาน
    ผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือ ต้องไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ
    ผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งบุหรี่มวน และ บุหรี่ไฟฟ้า

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล ตรวจเบาหวาน

อาการปอดบวมอันตรายถึงชีวิตไหม

         อาการปอดบวมเป็นอาการที่สามารถแบ่งระดับได้ตามความรุนแรงของโรคที่ปรากฎตั้งแต่ระดับต้นไปจนกระทั่งถึงระดับรุนแรง โดยอาการของปอดบวมที่รุนแรงนั้นจะมีผลต่อการส่งผ่านและลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ผ่านระบบเลือด และ หากระบบเลือดมีออกซิเจนไม่เพียงพอก็จะทำให้กลายเป็นเลือดเสีย ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน


อาการปอดบวม

         ซึ่งหลังกจากที่เราทราบกันไปเบื้องต้นในบทความนี้แล้วนั้น ก็ควรมีการดูแลตัวเองให้ดี และหมั่นสังเกตุอากาเจ็บป่วยรของตัวเองถ้าหากมีไข้ หรือไม่สบายเกิดขึ้น เพราะถ้าหากเรารู้ทัน เข้าพบแพทย์ทัน รักษาทัน ก็มีสิทธิ์ทำให้หายจากอาการนี้ ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
อาการวัณโรคปอด เสมหะปนเลือดสัญญาณบ่งบอกโรคติดต่อร้าย อันตรายถึงชีวิต!

อาการปอดบวมรักษาได้ไหม เป็นแล้วดูแลอย่างไรดี

         หากเราไม่สบาย แล้วเกิดอาการต่าง ๆ ที่เสี่ยงจะเป็นโรคปอดบวมขึ้นมานั้น เราก็ควรจะต้องรีบเข้าพบแพทย์ในทันที เพื่อไม่ให้เกิดอาการที่ทรุดหนักลง หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งการรักษาปอดบวมสามารถทำได้ โดยมีขั้นตอนในการดูแล และรักษา ดังต่อไปนี้


การดูแล รักษาอาการปอดบวม

1.เข้าปรึกษาแพทย์

         โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ จากนั้นก็ตรวจวินิจฉัยทั้งการตรวจเสมหะ การตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร การตรวจเลือด หรือการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ทรวงอก

2.การรักษา

         แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้การรักษาตามระดับความรุนแรงของโรค โดยเน้นไปที่การประคับประคองให้ปอดสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติก่อนในอันดับแรก โดยส่วนของการรักษาที่นิยมก็มี 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

2.1 การให้ยาปฏิชีวนะ

         การรักษาโดยวิธีแรกนี้จะนิยมใช้สำหรับการรักษาโรค หรือ อาการปรากฎของปอดบวมที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และ วิธีการนี้ต้องให้ยาตามโดสอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ป้องกันอาการดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้


2.2 การรักษาในภาวะประคับประคอง

         เป็นวิธีการรักษาที่มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา ที่แพทย์จะให้ยาตามอาการที่ปรากฎไม่ว่าจะเป็น

    การให้ยาขยายหลอดลม เมื่อเกิดการตีบตันของหลอดลม หรือ เกิดอาการหายใจไม่สะดวก
    การให้ยาลดไข้ เมื่อเกิดอาการไข้ หรือ อาการหนาวสั่นขึ้น
    การให้ยาละลามเสมหะ เมื่อเกิดเสมหะในลำคอ หรือ การดูดเสมหะ เมื่อเกิดเสมหะบริเวณปอด
    การทำกายภาพบำบัดทรวงอก เมื่อมีอาการแน่นหน้าอกที่รุนแรง หรือ การเจ็บหน้าอกทุกครั้งที่ไอ
    การให้สารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้เกิดออกซิเจนภายในเลือดมากกว่าเดิม

2.3 การรักษาอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

         การรักษาอาการแทรกซ้อนมักเป็นอาการที่รุนแรงอย่างภาวะน้ำท่วมปอดที่ต้องมีการเจาะ และ ระบายน้ำออก หรือ การให้ยาฆ่าเชื้อไปตามกระแสเลือด เมื่อเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือดขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ


วิธีป้องกันอาการปอดบวม

         แล้วเราจะต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคปอดบวม อาการที่ถ้าหากไม่รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เสี่ยงที่จะอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งหากเราไม่อยากให้เกิดอาการปอดบวม ก็ควรมีวิธีการดูแลตัวเองให้ดี โดยอาการปอดบวมสามารถป้องกันได้ด้วย วิธีดังต่อไปนี้

    การฉีดวัคซีนป้องกัน
    การพักผ่อนที่เพียงพอ
    การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนมีประโยชน์
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่
    หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ของมึนเมา

เช็กด่วน!! อาการปอดบวมเป็นอย่างไร รู้ไว้ก่อนจะสายเกินแก้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/151