“สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (โรค CADs หรือ Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease) คือ กลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนปริมาณเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้
วิธีการสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง และอาการที่แสดงบนผิวหนัง
สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่สำแดง
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง
สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
* มีอาการแบบโรคเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือาจจะใช้ระยะเวลาเพื่อทุเลาอาการอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)
- รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า
- รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ
- ติ่งคอเลสเตอรอล (ลักษณะเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง) ที่ผุดบนผิว
- ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น
- เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง
- เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ
- กลุ่มก้อนโปรตีนงอกขึ้นมา (Systemic Amyloidosis)
- การเปลี่ยนสีผิวบริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือเป็นสีแดง
- ผื่นไข้รูมาติก (ผื่นแบนมีขอบไม่คัน)
- ผื่นไข้คาวาซากิ (เป็นผื่นพร้อมไข้กับริมฝีปากแตกมีเลือดออก)หากมีลักษณะที่เข้าข่ายตามสัญญาณที่กล่าวมาเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังหรือหากมีอาการของโรครุนแรง เช่น เจ็บปวด เกิดการอักเสบ คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินโรคให้ได้ทันท่วงที และไม่ควรปล่อยผ่านหรือใช้ยาเพื่อระงับอาการโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยจัดการกับปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การเลือกกินอาหารที่ดีที่เป็นธรรมชาติต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เค็ม และอาหารสำเร็จรูปหรือที่ถูกปรุงแต่งด้วยสารชูรส สารสังเคราะห์ทางเคมี ผ่านกรรมวิธีให้ความร้อน เป็นต้น การหยุดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการรับควันพิษ ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ ดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกสุขลักษณะ ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจํา ควบคุมภาวะ จัดการความเครียดเรื้อรัง ออกกําลังกายเป็นประจำ
ฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว
ฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน Cortisol คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด
ผลข้างเคียงที่สำคัญเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุลกับฮอร์โมน DHEA หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้ตัวที่จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง โรคอ้วนลงพุง โรคกระดูกพรุน การแก่ก่อนวัย เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือภาวะวัยทอง เกิดการอักเสบระดับเซลล์และผิวหนัง เช่น การเกิดสิวอักเสบและขึ้นเห่อ อาการผดผื่น อ่อนเพลียเหนื่อล้าเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพร่วงบาง เป็นต้น
การดูแลสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณให้มีประสิทธิภาพรับมือกับความเครียดประจำวันได้ในเบื้องต้น ได้แก่
ในปี 2562 โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นสาเหตุสําคัญติด 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 17.9 ล้านคนในแต่ละปีนับจากประชากรโลกที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (อายุต่ำกว่า 70 ปี) จากโรค CVDs แบะคิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั่วโลก
ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดจำนวน 350,922 ราย (อัตราผู้ป่วย 535 ต่อประชากร 100,000 คน) เสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย (อัตราผู้ป่วย 31 ต่อประชากรแสนคน)
โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำนวน 355,671 ราย (อัตราผู้ป่วย 543 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิตจ านวน 34,728 ราย (อัตราตาย 53 ต่อประชากรแสนคน) และโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Acute Stroke) เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 และการพิการเป็นอันดับ 2 จากสถิติทั่วโลก
การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสําคัญและจำเป็นที่ช่วยป้องกันหรือรักษาติดตามการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีในระยะยาว สามารถคัดกรองโรคแฝงที่อาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้
การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษาโรค ทีนี้เมื่อคุณรู้วิธีการสังเกตอาการของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะแรกนั้นคือความโชคดีที่คุณรับรู้ภายในร่างกายของคุณในเบื้องต้น และการตรวจสุขภาพเพื่อยืนยันนั้นจะทำให้คุณแน่ใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการปรับการใช้ชีวิตของคุณเพื่อตัวของคุณเอง การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ และการหยุดสูบบุหรี่และงดหรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถป้องกันการกระตุ้นภาวะตั้งต้นการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเส้นเลือดหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease หรือกลุ่มโรค CADs) คือกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้ ซึ่งหากเกิดการอุดตันหลอดเลือดแดงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Heart Attack) จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองตาย เนื่องจากขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตได้ทันที
โรคของหลอดเลือดทั่วร่างกายและหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่โรคของหลอดเลือดจะเป็นที่หลอดเลือดหัวใจ สมอง แขน ขา และช่องท้อง โรค CVDs สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อน เพื่อการแปลสัญญาณของอาการที่อาจจะเข้าข่าย ได้แก่
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นจากอาการภูมิแพ้หรือมีคราบหินปูนที่เกาะสะสมในหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ไม่ออกแรงหรือนั่งอยู่เฉยๆ ที่จะมีอาการเจ็บอาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ไปจนเกิดอาการช็อกหมดสติฉับพลัน
โดยมีปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรค 2 ปัจจัย คือ
– ไขมันสะสมพอกผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน เกิดการอักเสบเรื้อรังที่เซลล์หลอดเลือดมีสาเหตุแรกๆ จากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง รองลงมาคือการบริโภคน้ำมันแปรรูปที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงเป็นประจำ เช่น น้ำมันพืชที่จะมีสารโอเมก้า 6 โดยทั้ง 2 สภาวะที่กล่าวนี้หากเกิดเป็นภาวะเรื้อรังนอกจากจะเป็นพิษต่อเซลล์หลอดเลือดแล้วยังส่งผลต่อเซลล์ทุกระบบในร่างกายเช่นกัน สามารถรับรู้ความเสี่ยงหรือป้องกันจากการตรวจสุขภาพในรายการตรวจ C-reactive protein (CRP) และรายการตรวจ Homocyteine (HCY) หากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมใน 2 รายการนี้ให้เป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงที่รุนแรงของโรค
– การหดตัวของหลอดเลือด
โรค Rheumatic Heart
เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจต่างๆ จากโรคไข้ Rheumatic (Rheumatic fever) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcal Bacteria กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านเซลล์หัวใจตนเองและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยมีอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น
โรคหัวใจที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือตั้งแต่เกิด (Congenital Heart Disease)
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีประวัติการเป็นตั้งแต่เกิด ที่เกิดจากการสร้างหัวใจที่ผิดปกติในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โดยสาเหตุเกิดจากเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันจนทำให้หลอดเลือดสมองแตก ที่มีสิ่งกระตุ้นที่เรามักได้ยิน เช่น การบริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำหรือที่มีไขมันสูง อากาศร้อนจัด ความเครียด การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์อย่างหนัก เป็นต้น ผู้ป่วยจะปวดศีรษะหรือวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ตามด้วยอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง การมองเห็นที่ไม่ชัดหรือภาพเบลอ ไปจนอาการตาดับถึงแม้จะลืมตาอยู่ก็ตาม พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูดหรือแปลการสื่อสารไม่ได้อย่างกระทันหัน มีการทรงตัวผิดปกติ
จะดีกว่าหากคุณสามารถสังเกตอาการในเบื้องต้นที่กำลังเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างทันท่วงที ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพคุณหรือการช่วยชีวิตต่อบุคคลรอบตัวคุณได้ เนื้อหาสาระเพื่อสุขภาพนี้จะนำเสนอวิธีการสังเกตที่อาจจะช่วยชีวิตคุณให้ป้องกันหรือรีบรักษาโรคโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ก่อนที่จะลุกลามจนเกิดอาการที่รุนแรงต่อชีวิต โดยเราขอนำเสนอวิธีการสังเกตแบบ 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่
❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง
❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
และสิ่งสำคัญหากคุณได้แนวทางจากที่นำเสนอการสังเกตอาการเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในเบื้องต้นนี้แล้วคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโรคต่อไป เพื่อความแม่นยำและความชัดเจนต่อการระบุโรคที่ถูกต้อง
สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง ดังนี้
อาการในผู้ชาย
เวียนหัวเรื้อรัง อาจรุนแรงไปจนถึงอาการหน้ามืดเป็นลมล้มทั้งยืนได้
ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง มีอาการเหน็บชามือแขนขาร่วมด้วย
เจ็บ จุก สำลักที่หน้าอก พร้อมหายใจลําบาก หายใจถี่ หรือไอแห้งๆ
หัวใจสั่น หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
ภาวะบวมน้ำที่ขา เท้า หน้าท้อง หรือเส้นเลือดที่คอปูดโปน
เหงื่อออกมากอย่างผิดปกติจนตัวเปียก แม้จะอยู่ในที่ร่ม
อาการในผู้หญิง
อาการที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนในผู้หญิง จะมีอาการหัวใจวายหรืออาการช็อกหมดสติมากกว่าจะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนในผู้ชาย โดยมีอาการลักษณะดังนี้
อาการวิงเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน
เกิดภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรืออ่อนเพลียอย่างผิดปกติเมื่อทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ
ปวดคอ กราม ลําคอ ไหล่หรือหลังส่วนบนหรือท้องส่วนบน (หน้าท้อง) หายใจถี่
ปวดแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
คลื่นไส้อาเจียน
เหงื่อออกอย่างผิดปกติ แม้อยู่ในที่ร่ม
อาหารไม่ย่อย
อาการประกอบอื่นๆ
เสียการทรงตัว การสื่อสารที่ทำได้ยากลำบาก พูดติดขัดหรือไม่ชัด การขยับของฝีปากผิดปกติ เนื่องจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและประสาทผิดปกติไม่ประสานกัน
หน้าตาปากซีด เกิดความสับสน ที่อาจเกิดจากอุณหภูมิร่างกายแปรปรวนอาจจะหนาวหรือร้อนจัด หรือกำลังเกิดอาการช็อก
การมองเห็นที่แย่ลงอย่างกระทันหัน หรือมองเป็นภาพเบลอ
การนอนกรนและหยุดหายใจเป็นระยะๆ ระหว่างการนอน
อาการที่แสดงโรคของผู้หญิงอาจจะดูเหมือนแสดงความรุนแรงน้อยและไม่ชัดเจนเท่ากับอาการที่เกิดในผู้ชาย แต่จะเกิดอาการได้บ่อยกว่าในผู้หญิงและมีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ชาย
สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
โดยอาการที่แสดงบนผิวหนังนี้ จะมีความสอดคล้องกับโรคหากคุณนำมาพิจารณาและสังเกตร่วมกับอาการที่แสดงออกตามเพศนั้น และต้องเกิดโดยไม่มีสาเหตุหรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน โดยมีอาการดังนี้
1. อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)
อาจบ่งบอกถึง ภาวะของหัวใจที่เริ่มทำงานผิดปกติจึงทำให้เกิดของเหลวสะสมที่เท้าและขาท่อนล่าง เมื่อของเหลวสะสม คุณอาจเห็นอาการบวมซึ่งอาจขยายไปถึงขาท่อนบนและขาหนีบ แต่ทั้งนี้ก็ยังรวมถึงการทำงานผิดปกติของไต ตับ ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยเช่นกัน
2. รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า
อาจบ่งบอกถึง เลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการนี้เรียกว่า Blue Toe Syndrome ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
3. รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ
อาจบ่งบอกถึง “ภาวะคอเลสเตอรอลอุดตัน” ที่เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในบริเวณที่เกิดขึ้นนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าคุณมีความเสี่ยงที่เกิดอาการที่รุนแรงของโรคต่อไปหรือไม่
4. ติ่งคอเลสเตอรอลที่ผุดบนผิว
มีลักษณะเป็นเหมือนเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง โดยมักปรากฎที่มุมตา รอยเส้นบนฝ่ามือ หรือหลังส่วนล่างของขา อาจบ่งบอกถึง ภาวะการเกิดคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากเกินไป ซึ่งการการมีพวกมันมากเกินไปนี้ก็มีนัยยะต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ
5. ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น
เป็นภาวะการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เกิดจากระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมาก อาจบ่งบอกถึง ระดับคอเลสเตอรอลหรือโรคเบาหวานพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง
6. เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง
อาจบ่งบอกถึง ภาวะของระบบหัวใจและหลอดเลือด การกำเริบของโรคหัวใจ หรือปัญหาที่เกี่ยวกับปอด
7. เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ
หากมีไข้สูง และหัวใจเต้นอ่อนแรงหรือไม่เป็นจังหวะ บ่งบอกถึง สัญญาณของโรคหัวใจ ที่เส้นเลือดที่ปลายนิ้วกำลังเกิดความเสี่ยงจากอาการนั้นเอง