ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านสวยโคราช: สิ่งที่ต้องระวังก่อนสร้างบ้านนอร์ดิก  (อ่าน 211 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 472
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
บ้านสไตล์นอร์ดิก เป็นรูปแบบบ้านจากแถบสแกนดิเนเวียน ที่ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อนำรูปแบบบ้านต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยที่มีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศ ย่อมมีโอกาสเกิดปัญหาขึ้นได้ ส่วนจะมีอะไรบ้าง เรามาดูปัญหาและการแก้ไขกันค่ะ


 
1 ปัญหาความร้อน

เนื่องจากประเทศเป็นเมืองร้อน ด้วยบ้านสไตล์นอร์ดิก ไม่มีชายคาบังแดด และมีกระจกเป็นส่วนประกอบเป็นหลัก ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการปรับแบบให้เหมาะสมเช่น การเว้าลึกเข้าไปเพื่อให้เกิดชายคา หรือการใช้ผนังก่ออิฐ 2 ชั้น เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน และเลือกวัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน

 

2 ปัญหาฝนสาด

เช่นเดียวกับปัญหาจากข้อมที่ 1 เนื่องจากบ้านไม่มีชายคาเพื่อกันฝนสาด จำเป็นต้องใช้เทคนิคการออกแบบเช่นเดียวกันเพื่อให้เกิดการเว้าเข้าไปเป็นชายคา โดยไม่เสียดความเป็นรูปแบบบ้านสไตล์นอร์ดิก

 

3 ปัญหาหลังคารั่วซึม

ด้วยลักษณะหลังคาของบ้านสไตล์นอร์ดิกจะลาดเอียงลงมาต่อเนื่องจนถึงผนัง การเลือกใช้หลังคาที่มีคุณสมบัติปกป้องความชื้นจากฝน ป้องกันน้ำไหลย้อนเมื่อหลังคามีความลาดเอียงต่ำ เช่นหลังคาเมทัลชีท หรือหลังคาแอสฟัลต์ชิงเกิ้ลรูฟ จะช่วยป้องกันปัญหาการรั่วซึมของหลังคาได้



วัสดุป้องกันความร้อน

ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ อากาศทวีความร้อนรุนแรงให้แจ่มแจ้ง แจ่มชัดกันไปแล้ว คาดการว่าเดือนเมษายนนี้น่าจะเพิ่มระดับความร้อนได้มากขึ้นกว่าเดิม การแก้ปัญหาด้วยเครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียวนั้น อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่ครั้นจะมารอแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเรื่องโลกร้อนเพียงอย่างเดียว ก็ดูเหมือนจะไม่ทันการ และได้ผลช้า การแก้ปัญหาที่ดีนั้น จึงควรเริ่มทำไปพร้อมๆ กันทุกๆ ด้าน จากบทความก่อนหน้านี้ “บ้านไอเดีย“​เคยนำเสนอเทคนิคการสร้างบ้านเย็น ด้วยการคำนวณทิศทาง ลม แสงแดด และทริปต่างๆ เพื่อให้บ้านเย็นสอดคล้องกับธรรมชาติกันไปบ้างแล้ว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดี สำหรับวันนี้ เป็นบทความต่อเนื่อง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องราวของวัสดุกันความร้อนกันแบบครบเครื่อง จากพื้นบ้านจรดหลังคาเลยครับ



หลังคาบ้าน

หลังคา เป็นส่วนที่รับความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นอันดับแรก การเลือกซื้อหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีความร้อนและไม่อมความร้อน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในด่านแรก รวมถึงนอกจากนี้แล้วการออกแบบหลังคาในลักษณะที่สูงโปร่งก็สามารถลดอัตราการเก็บสะสมความร้อนภายในได้เช่นกัน


แผ่นฉนวนสะท้อนความร้อน

เป็นแผ่นที่ติดใต้แผ่นกระเบื้องหลังคาคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อนที่เข้าผ่านหลังคา สะท้อนออกสู่ภายนอก ไม่เข้ามาสะสมพื้นที่ใต้หลังคา ทั้งนี้แผ่นสะท้อนความร้อนมีอายุการใช้งาน เมื่อใช้ไปนานๆ คุณสมบัติของแผ่นสะท้อนอาจลดลงไปได้


แผ่นฉนวนกันความร้อน

แม้แผ่นสะท้อนความร้อนจะป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านได้แล้ว แต่ในทางปฏิบัตินั้น ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ความร้อนเบาบางลงแต่ยังมีเล็ดลอดเข้ามาได้ แผ่นฉนวนกันความร้อนจึงเป็นอีกส่วน ที่จะเป็นเกราะป้องกันความร้อนเข้าสู่ฝ้าเพดานของบ้านได้ โดยแผ่นดังกล่าว ใช้ในการติดตั้งบนฝ้าเพดาน เหมาะกับบ้านที่สร้างไว้นานแล้ว และต้องการป้องกันความร้อนเพิ่ม สามารถติดตั้งเพิ่มได้โดยทันที แต่หากเป็นแผ่นฉนวนสะท้อนความร้อนนั้น อาจจำเป็นต้องรื้อแผ่นหลังคาใหม่ ซึ่งเหมาะกับบ้านที่กำลังสร้างใหม่

* ทั้งนี้ ผู้อ่านอาจสงสัยว่า ควรเลือกแบบไหนดี ? โดยปกติแล้วหากเป็นบ้านสร้างขาย บ้านโครงการ มักลดต้นทุนการสร้าง ทางโครงการอาจระบุไว้ว่า ได้มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน แต่ส่วนใหญ่จะติดตั้งกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงมา กรณีที่สร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยเอง แนะนำให้ติดตั้งทั้งสองชนิดครับ ซึ่งช่วยป้องกันได้ดีกว่าและคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแน่นอน


ฝ้าชายคา

วัสดุดังกล่าวมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม เพราะส่วนใหญ่จะรู้จักกันในเรื่องของฉนวนกันความร้อน สำหรับฝ้าชายคาในอดีต นิยมใช้แผ่นสมาร์ชบอร์ดแบบปิดทึบ ซึ่งจะทำให้ความร้อนใต้โถงหลังคาถูกปิดขัง ระบายออกได้ช้า ปัจจุบันฝ้าชายคารุ่นใหม่ มีการฉลุลาย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก การออกแบบดังกล่าวนี้หากให้ได้คุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น ควรสร้างบ้านโดยการใช้หลักการทิศทางลม ซึ่งจะทำให้มีลมเข้าถ่ายเถอากาศได้ดี


ผนังกันความร้อน

เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากการออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้านทิศทางลมและแสงแดดไปแล้ว เราจะทราบได้โดยทันทีว่า บ้านโซนที่ร้อนมากที่สุด เป็นทิศตะวันตก ซึ่งพระอาทิตย์จะส่องตรงเข้าสู่ทิศนี้ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงยามเย็น เพราะฉะนั้น เพื่อการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี ผนังบ้านฝั่งทิศตะวันตกจึงควรติดตั้งฉนวนกันความร้อน และบริเวณรอบบ้าน ควรมีไม้ยืนต้น บดบังแสงทางด้านนี้ ก็จะเป็นฉนวนกันร้อนจากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นครับ


พัดลมระบายอากาศ

ภายในห้องพื้นที่แคบ อุดอู้ ไม่มีอากาศถ่ายเท ความร้อนจะสูงมาก เช่น ภายในห้องน้ำ เป็นต้น การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ สามารถช่วยได้ในระดับที่ดีมาก ตรงส่วนนี้เป็นการลงทุนน้อยๆ แต่คุ้มค่า เนื่องด้วยห้องน้ำ เป็นส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ในบางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน บางบ้านร้อนมาก อาบน้ำเสร็จใหม่ๆ เหงื่อก็แตก ติดพัดลมระบายอากาศช่วยแก้ปัญหาได้แน่นอนครับ


กระจกป้องกันความร้อน

เมื่อนึกถึงผนังกระจก หรืออาจเป็นช่องหน้าต่างวัสดุกระจก หากเป็นอดีตโซนที่ติดกระจก มักเป็นโซนที่ความร้อนเข้าได้โดยตรง แต่เทคโนโลยีปัจจุบัน การผลิตกระจกที่มีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อน ลดรังสีความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี หรือบางชนิดมีการเคลือบสารป้องกันพิเศษ ติดฟิล์มกันความร้อน ทำให้วัสดุกระจกได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกระจก ที่ส่งผลในด้านการสะท้อนความร้อนที่มีผลกระทบต่อผู้อื่น เช่น เกิดแสงสะท้อนแสบตา หากเป็นเช่นนั้น แม้จะช่วยป้องกันความร้อนภายในได้ แต่เป็นการเพิ่มความร้อนสู่ภายนอก ย่อมไม่เป็นผลดี


พื้นบ้าน

การเลือกวัสดุพื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ลดการอมความร้อนได้เป็นอย่างดี วัสดุแต่ละประเภทให้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน มีคุณสมบัติในการอมความร้อนที่แตกต่างกัน อาทิเช่น วัสดุพื้นคอนกรีต มีคุณสมบัติอมความร้อนสูงกว่าวัสดุประเภทไม้ การเลือกซื้อวัสดุปูพื้น จึงควรต้องศึกษารายละเอียดให้มากเป็นพิเศษ อีกทั้งความเย็นของพื้น ยังเป็นส่วนสัมผัสโดยตรงจากฝ่าเท้า หากพื้นเย็น ร่างกายก็เย็นขึ้นได้อย่างรวดเร็ว



พื้นรอบบ้าน

หากเป็นอดีตหรือบ้านในชนบท บริเวณรอบบ้านส่วนใหญ่เป็นพื้นดินและสนามหญ้า แต่บ้านในเมืองยุคใหม่ นิยมใช้พื้นคอนกรีต ทั้งรูปแบบเทคอนกรีตทั่วไป คอนกรีตพิมพ์ลาย เป็นต้น วัสดุเหล่านี้มีคุณสมบัติสะสมความร้อนสูง แตกต่างจากพื้นดิน พื้นหญ้า ซึ่งสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า ทั้งนี้ดินและสนามหญ้า อาจเป็นปัญหาด้านความเปียกแฉะในหน้าฝน การแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ อาจเลือกวัสดุประเภท พื้นอิฐตัวหนอน บล็อกปูหญ้า แผ่นพื้นทางเดินสำเร็จรูป เป็นต้น เนื่องจากวัสดุประเภทดังกล่าวนี้ มีช่องว่างระหว่างช่วงรอยต่อ และสามารถเว้นระยะการปูพื้นสลับกับสนามหญ้าได้โดยง่าย ทำให้การสะสมความร้อนลดน้อยลงไปมากกว่าการเทพื้นคอนกรีตทั้งหมด

จบกันไปสำหรับวัสดุป้องกันความร้อน ท่านใดกำลังสร้างบ้าน ต่อเติมบ้าน อย่าลืมมองข้ามวัสดุเหล่านี้ แน่นอนว่างบในการสร้างบ้านย่อมสูงขึ้น แต่สิ่งที่ได้มานั้น เกินความคุ้มค่า เพราะจะช่วยลดค่าไฟฟ้าในการเปิดแอร์ ช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานเบาลง อายุการใช้งานนานขึ้น บางบ้านป้องกันทุกจุดใช้ร่วมกับเทคนิคการสร้างบ้านเย็นที่เคยนำมาให้อ่านกัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศเลยก็มีครับ อากาศเย็นลง ช่วยลดอารมณ์หงุดหงิดใจร้อน ทำให้ผู้อยู่อาศัย มีความสุขมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ การลดพลังงาน ย่อมส่งผลระยะยาวของปรากฏการณ์โลกร้อนให้เบาบางลงไปได้ในอนาคต มาร่วมด้วยช่วยกัน ประหยัดพลังงาน ปลูกต้นไม้กันเยอะๆ นะครับ



บ้านสวยโคราช: สิ่งที่ต้องระวังก่อนสร้างบ้านนอร์ดิก อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/