ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง ห้องGenerator  (อ่าน 249 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 448
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
ฉนวนกันเสียง ห้องGenerator
« เมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2023, 21:11:51 น. »
เครื่อง Generator จึงมีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่ปัญหาคือ เครื่อง Generator มีเสียงที่ดังมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางเสียงของโรงงานนั้นๆ และสุขภาพของคนงาน แนวทางในการแก้ไข คือ การติดตั้ง ฉนวนกันเสียง ห้อง Generator ซึ่ง ฉนวนกันเสียงที่ดี ต้องสามารถระบายอากาศได้ดี และสามารถจะเก็บเสียงดังได้ดีด้วย ฉนวนกันเสียง จึงมีความจำเป็นในการติดตั้ง ในห้อง Generator



เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

    จุดประสงค์การใช้งาน เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับ เพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง
    หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือการหมุนสนามแม่เหล็กตัดขดลวด ลักษณะทั่วไปของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ

– เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternator)

– เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง (Dynamo)

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ


1. เครื่องต้นกำลัง เป็นส่วนที่ผลิตพลังงานกลขึ้นมา เพื่อหมุนเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น

– กังหันน้ำ ได้แก่ เขื่อนต่าง ๆ

– กังหันไอน้ำ ได้แก่ การนำเอาน้ำมาทำให้เกิดความร้อนแล้วนำเอาไอน้ำไปใช้งาน

– กังหันแก๊ส มีแบบใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลเพราะราคาถูก


2. Generator เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กมีหลายแบบดังนี้

2.2.1 แบบทุ่นหมุน Revolving Armature Type (Ra Type) แบบนี้ใช้วิธีหมุนขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนเพลาหมุนตัดผ่านเส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่บนเปลือก ทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดง นำเอาแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งานโดยผ่าน Slip Ring (วงแหวนทองเหลือง) และแปรงถ่าน ขั้วแมเ่หล็กที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ ไมไ่ ด้เป็นแม่เหล็กถาวรหรือแม่เหล็กธรรมชาติที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กคงที่ แต่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงป้อนผ่านขดลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กอ่อน เพื่อทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรงนี้จึงสามารถควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ โดยการเพิ่มหรือลดปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรง

2.2.2 แบบขั้นแม่เหล็กหมุน Revolving Field Type (Rf Type) แบบนี้ใช้วิธีหมุนขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดทองแดงที่พันติดอยู่บนเปลือก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบนปลายขดลวดทองแดง แบบนี้ไม่ต้องมี Slip Ring และแปรงถ่าน เพื่อนำแรงดันไฟฟ้าไปใช้งาน แต่มีแปรงถ่านและ Slip Ring ต่อกับขดลวดทองแดง ที่พันอยู่บนแกนแม่เหล็ก เพื่อใช้สำหรับป้อนไฟฟ้ากระแสตรงไปเลี้ยงขดลวดทองแดง เพื่อสร้างความเข้มของสนามแม่เหล็ก

2.2.3 แบบไม่มีแปรงถ่าน Brushless Type (Bl Type) แบบนี้แบ่งตามขั้นตอนการทำงานออกเป็นส่วน ๆ ได้ 4 ส่วน คือ

1. Exciter ประกอบด้วย

2. Rotating Rectifier

3. Main Generator

4. Automatic Voltage Regulator (A.V.R.)





ฉนวนกันเสียง ห้องGenerator อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/