ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: ฟันคุด เป็นอย่างไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร หากเรามีฟันคุด  (อ่าน 208 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 435
  • เวบบอร์ดโพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตั้งแต่เด็ก จนโต เคยได้ยินผู้ใหญ่ พูดเรื่อง ทันตกรรม และปัญหาฟันคุด มันปวดมาก ก็ไม่เคยเข้าใจสักที แต่ปัจจุบัน ก็ได้ความกระจ่างมากขึ้น ก็เลยรู้ว่า ฟันคุด คือฟันกรามที่ไม่ปรากฏออกมาให้เห็นเพราะคุดลงในเหงือก (ไม่งอกผ่านเหงือกออกมา) ซึ่งเป็นฟันกรามซี่ในสุดด้านล่างหรือทั้งซ้ายและขวา หรือที่เรียกว่าฟันกรามซี่ที่สาม

หากเราไปพบทันตแพทย์ และคุณหมอได้ตรวจสภาพช่องปาก หากพบว่า ฟันกรามฝังตัวอยู่ใต้เหงือก เมื่อมีการถ่ายภาพรังสีช่องปากออกมา โดยมักใช้วิธีการเอกซเรย์เพื่อประเมินมุมของการงอก และระยะการเติบโตของฟันคุด โดยส่วนใหญ่ฟันกรามคุด จะงอกผ่านเหงือกออกมาในช่วงวัยผู้ใหญ่ ประมาณอายุ 16 ถึง 23 ปี จะพบได้ว่า การงอกของฟันคุด มักทำให้รู้สึกถึงแรงกดหรือปวดบริเวณหลังของกราม ซึ่งทันตแพทย์ทั่วไปจะสามารถบอกคุณได้ว่าคุณมีฟันคุดหรือไม่


ต้องถอนฟันคุดออกหรือไม่?

ไม่ใช่ฟันคุดทุกซี่จะต้องถูกถอนออก หากฟันคุดงอกออกเหงือกอย่างสวยงาม หรือทำมุมตรงก็ไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับฟันกรามซี่นั้น ๆ หมั่นดูแลทำความสะอาด และอาจจะต้องปรึกษากับทันตแพทย์ เรื่องของการจัดฟันแทน

แต่หากเกิดอาการเจ็บปวด ปวดมาก ปวดน้อย เพราะฟันคุด บางครั้ง คุณหมอประเมิน อาจไม่ต้องถอนฟันคุดก็ได้ โดยปรับเปลี่ยนวิธีดูแลความสะอาดในช่องปาก หรือปรับเปลี่ยนเนื้อเยื่อโดยรอบ  ถ้าเนื้อเยื่อเหงือกมีอาการบวม และอ้าออกเล็กน้อยจนเหงือกแทบจะไม่คลุมด้านหลังของฟัน และคุณมีที่ว่างเหลือให้ฟันคุดงอก คุณก็สามารถเลือกกำจัดเนื้อเยื่อเหงือกจากหลังฟันออกเพื่อรักษาปัญหานี้ได้ การเปลี่ยนมุมของการแปรงฟันและเพิ่มความถี่ในการขัดฟันทั้งหน้าและหลังฟันกรามจะช่วยทำให้เนื้อเยื่อเหงือกมีสุขภาพดีและเลี่ยงปัญหาเหงือกที่เจ็บปวดหรือการติดเชื้อรอบฟันกรามได้

แต่ถ้าฟันคุดงอกออกแบบเอียงจนทำให้คุณทำความสะอาดฟันกรามยาก วิธีแก้เดียวก็คือการถอนฟันคุด ซึ่งบางครั้งถ้าฟันงอกออกเอียงเกินไปก็อาจทำให้เกิดร่องลึกปริทันต์ โรคเหงือก หรือเหงือกรอบฟันกรามร่นได้ จึงต้องทำการกำจัดฟันกรามออกเพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น

ถ้าไม่มีช่องว่างในปากให้ฟันคุดงอกออกมาเพียงพอ ฟันคุดอาจจะงอกจนดันฟันและเนื้อเยื่อโดยรอบ แรงที่ฟันก่อขึ้นจะทำให้เกิดความรู้สึกปวดศีรษะรุนแรง ปวด/ยึดตึงที่กราม หรือปวดฟันและเนื้อเยื่อ ซึ่งจะแก้ไขได้ด้วยการถอนฟันออกเท่านั้น อีกทั้งแรงฟันคุดอาจทำให้ฟันเก

ถ้ามีช่องว่างให้ฟันกรามงอกแต่ไม่สัมผัสกับฟันซี่อื่นเลย ก็ควรต้องมีการถอนฟันกรามออกอยู่ดี เนื่องจากอาจทำให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องยาก ถ้าฟันกรามซี่ที่สามเกิดผุ วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการถอนออกแทนการรักษาฟันผุแบบทั่วไปอย่างการอุดฟัน การรักษารากฟัน หรือครอบฟัน ซึ่งการรักษาเหล่ามีไว้สำหรับฟันซี่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ฟันกรามซี่ที่สาม

คุณควรถอนฟันคุดหากว่าฟันงอกผ่านเนื้อเยื่อเหงือกออกมา และทำให้เหงือกอักเสบหรือก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น เนื้อเยื่ออ่อนจะโตคลุมฟันคุดที่กำลังงอก ซึ่งภาวะเช่นนี้จะมีโอกาสขังเชื้อโรคไว้ภายในจนอาจกลายเป็นการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน (pericoronitis) ขึ้น


สัญญาณและอาการของฟันคุดที่ติดเชื้อมีอะไรบ้าง?

การอักเสบของเหงือกที่คลุมฟันเป็นสาเหตุหลักที่ต้องทำการถอนฟันคุดออกอย่างเร่งด่วน และมักจะเกิดขึ้นเพราะว่าฟันกรามไม่มีที่ว่างพอจะงอกออกมาจากเหงือกเต็มที่ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้มีอาการแดง เหงือกที่ฟันคุดบวม มีกลิ่นปาก เจ็บปวด และมักกัดโดนฟันท้ายสุดบ่อยครั้ง อีกทั้งบางกรณีก็อาจมีหนองออกจากบริเวณนั้นด้วย

บางครั้งการติดเชื้อก็ทำให้เนื้อเยื่อเหงือก แก้ม หรือบริเวณโดยรอบของกรามข้างที่มีอาการบวมออก ซึ่งการบวมนี้จะทำให้เกิดแรงดันที่อาจลามไปยังหูจนก่อให้เกิดอาการปวดหูรุนแรงอีกด้วย บางครั้งการติดเชื้อที่หูหรือไซนัสก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดลงฟันได้เช่นกัน ทำให้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อมองหาสัญญาณต้องสงสัยของการติดเชื้อ


จะทำอย่างไรถ้าคุณเจ็บฟันคุดและไม่สามารถถอนออกได้ทันที?

หากมีอาการบวม ติดเชื้อ กลืนอาหารลำบาก มีกลิ่นปาก มีไข้ หรือมีความรู้สึกเจ็บปวดรุนแรง สิ่งที่คุณต้องทำเป็นอันดับแรกคือการถอนฟันคุดออกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อทรุดลงหรือลามออกไปในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ อีกทั้งการกลั้วปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ หรือยาบ้วนปากต้านเชื้อโรคกับการใช้ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาก็นับว่าเป็นวิธีการรักษาเฉพาะหน้าได้ หรือจนกว่าจะมีโอกาสเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์


มีวิธีรักษาอาการเจ็บปวดฟันคุดที่บ้านอย่างไรบ้าง?

มีการรักษาอาการปวดฟันคุดที่บ้านมากมาย ซึ่งส่วนมากเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดชั่วคราวเพื่อรอจนกว่าจะไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากคุณพึ่งแต่การรักษาตัวเองที่บ้านเป็นเวลานานโดยที่ไม่ยอมไปพบทันตแพทย์ จะทำให้ภาวะในช่องปากทรุดมากขึ้นและอาจติดเชื้อ ฟันผุ หรือลุกลามไปยังบริเวณอื่นจนภาวะรุนแรงมากขึ้น


สถานการณ์ส่วนมาก การรักษาตัวเองที่บ้านดังนี้จะสามารถช่วยคุณได้:

1.    น้ำมันกานพลู: น้ำมันกานพลูประกอบไปด้วยยูจีนอลซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดอาการชาตามธรรมชาติ โดยการหยดลงก้อนสำลีและประคบลงบนบริเวณที่เจ็บ แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มันจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรือผิวหรือเนื้อเยื่อไหม้ได้ อีกทั้งความเจ็บปวดจะกลับมาอีกหลังจากนำสำลีออก

2.    น้ำเกลือ: น้ำเกลือมีฤทธิ์ในการชะล้างการติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าฟันกรามซี่ที่สามก่อให้เหงือกปกคลุมฟันอักเสบหรือทำให้มีหนอง การกลั้วปากด้วยน้ำเกลือจะสามารถทำความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อได้จนกว่าคุณจะไปพบแพทย์ วิธีการผสมน้ำเลือกคือการใช้เกลือเพียงหยิบมือเล็กน้อยผสมในน้ำอุ่น และกลั้วคอเป็นเวลา 30 นาทีประมาณหนึ่งหรือ 2 ครั้งต่อวัน วิธีนี้ยังสามารถช่วยได้หลังจากการถอนฟันคุดเพื่อทำความสะอาดหลุมของฟันที่มีอยู่ได แต่น้ำเกลือจะไม่ช่วยรักษาการติดเชื้อได้ถาวรหากว่าต้นตอของการติดเชื้อยังคงมีอยู่ในช่องปากของคุณ

3.    กระเทียม: กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ โดยใช้กระเทียมบดที่ผสมกับเกลือทาลงบนบริเวณที่มีปัญหาจะช่วยควบคุมการติดเชื้อได้จนกว่าคุณจะไปพบแพทย์ แต่การใช้วิธีนี้เป็นเวลานานจะทำให้มีกลิ่นปากแรง

4.    ถุงชา: ชาหลายประเภทมีสรรพคุณป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฟันกรามซี่ที่สาม ชาเปปเปอร์มินต์มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและทำให้ชาได้โดยการประคบถุงชาเย็น ๆ ลงบนบริเวณที่เจ็บปวด ชาดำจะมีกรดแทนนิกที่สามารถช่วยหยุดการเลือดออกได้โดยการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือก หากว่าฟันกรามถูกถอนออกไปและมีเลือดออกไม่หยุดแม้จะกดแผลมาแล้วหนึ่งชั่วโมง คุณก็สามารถกัดถุงชาดำเบา ๆ บนจุดที่มีเลือดออกได้

หากคุณมีอาการต่าง ๆ จากฟันคุด คุณก็ควรไปพบแพทย์ทันทีหลังจากรักษาเบื้องตันด้วยตนเองที่บ้าน การรักษาที่กล่าวไปข้างต้นไม่สามารถรักษาปัญหาต้นเหตุได้และอาจเป็นตัวปกปิดปัญหาที่อาจร้ายแรงกว่าเดิมได้


การถอนฟันคุดทำอย่างไร?

เมื่อทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่าคนไข้ต้องถอนฟันคุด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ในการถอนฟันเพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกเจ็บปวด หากต้องมีการผ่าเนื้อเยื่อเหงือกรอบฟันก็จะมีการผ่าตัดขนาดเล็กขึ้นเพื่อให้นำฟันออกมาจากเบ้าได้ หลังการถอนฟันแพทย์จะเย็บแผลที่ผ่าตัดด้วยด้ายเพื่อเร่งการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ ด้ายเย็บแผลอาจเป็นทั้งไหมที่ละลายได้ (หายไปเองภายในสามถึงห้าวัน) หรือไหมที่ต้องให้แพทย์ดึงออกในวันหลังก็ได้


ระยะเวลาฟื้นตัวหลังการถอนฟันคุดคือเท่าไร?

ระยะเวลาการฟื้นตัวจากการถอนฟันคุดคือประมาณ3-5 วัน อาจมีเลือดออกจากบริเวณที่ถอนฟันเล็กน้อยก็นับว่าเป็นเรื่องปกติ และเลือดจะออกลดลงภายหลัง 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด

เมื่อยาชาหมดฤทธิ์ คุณอาจมีอาการกรามตึง เปิดปากลำบาก และมีความเจ็บปวดบ้าง ซึ่งแพทย์มักจะจ่ายยาแก้ปวดมาบรรเทาอาการต่าง ๆ หลังผ่าตัด โดยทั่วไปแล้วคุณสามารถใช้ยาไทลีนอล การประคบเย็น หรือยาแก้ปวดชนิดอ่อนได้ด้วย

คนไข้ต้องทานอาหารอ่อนในช่วงไม่กี่วันหลังถอนฟัน เลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดกับการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลี่ยงบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่จะไปชะลอกระบวนการฟื้นตัวลง และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อความเจ็บปวดหลังผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น วิธีบรรเทาอาการปวดจากการถอนฟันที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนให้มาก ๆ โดยที่ปล่อยให้บริเวณที่ผ่าตัดฟื้นตัวเอง และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัดจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ สำหรับเหงือกนั้น การฟื้นตัวเองให้สมบูรณ์อาจต้องใช้เวลาประมาณสามถึงสี่สัปดาห์


คุณสามารถทานอะไรได้บ้างหลังการถอนฟันคุด?

ในช่วงไม่กี่วันแรกหลังการถอนฟัน คุณอาจจะรับประทานอาหารได้ลำบากเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรงดอาหารใด ๆ เพื่อคงสภาพร่างกายให้สมบูรณ์และส่งเสริมการฟื้นตัวให้เร็วขึ้น ในช่วงหนึ่งหรือสองวันแรกหลังถอนฟัน อาหารที่เตรียมไว้ควรเป็นอาหารอ่อนหรือเหลว อย่างเช่นน้ำผลไม้ปั่น โยเกิร์ต โจ๊ก ซุป พุดดิ้ง ฯลฯ ไม่ควรดื่มน้ำผ่านหลอดหรือทานอาหารเผ็ดเกินหรือร้อนมากไป อีกทั้งไม่ควรทานอาหารที่อาจเข้าไปติดในเบ้าฟันอย่างถั่วหรือข้าว และเมื่อเบ้าฟันเริ่มสมานตัว คุณก็สามารถกลับไปทานอาหารตามปรกติที่ต้องใช้การเคี้ยวได้โดยการค่อย ๆ เพิ่มเข้าไปในมื้ออาหารแต่และมื้อทีละเล็กน้อยขึ้นอยู่กับความสบายขณะเคี้ยวของแต่ละบุคคล
การถอนฟันคุดมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

ปัญหาที่พบบ่อยหลังการถอนฟันคุดคือเบ้าฟันแห้งหรือกระดูกเบ้าฟันอักเสบ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่อยู่ในบริเวณผ่าตัดเกิดหลุดออกโดยไม่ตั้งใจจนเผยให้เห็นกระดูกข้างใต้ หากเกิดเช่นนี้ขึ้น กระดูกรอบเบ้าที่ถอนอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นหลังการถอนฟันสองถึงห้าวัน และจะทำให้มีกลิ่นปากพร้อมกับอาการปวดต่อเนื่อง คุณควรติดต่อทันตแพทย์ทันที่ที่ประสบกับอาการข้างต้น ซึ่งจะสามารถรักษาภาวะแทรกซ้อนนี้ได้ง่ายดาย และจะหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับยาหรือตัว
กระตุ้นลิ่มเลือด


สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายกว่านี้จะเกิดขึ้นยากมาก ซึ่งมีทั้งการบาดเจ็บของ adjacent inferior alveolar nerve สำหรับการถอนฟันคุดที่อยู่ท้ายกราม (ขากรรไกรล่าง) ไซนัสทะลุสำหรับการถอนฟันคุดแนวบน (ขากรรไกรบน) ความเสียหายที่ฟันใกล้เคียง มีอาการชาต่อเนื่องหรือความรู้สึกที่ลิ้น ริมฝีปาก หรือเหงือกเปลี่ยนแปลงไป หรือปัญหากับข้อต่อขากรรไกรที่เกิดมาจากการกระทบกระแทก ความเสี่ยงเหล่านี้จะถูกพิจารณาโดยทันตแพทย์ก่อนเริ่มถอนฟัน หลังจากวิเคราะห์และมองว่าการถอนจะเป็นไปอย่างปลอดภัยในภายหลัง

การถอนฟันคุดออกในช่วงวัยรุ่นจะส่งดีมากกว่าการถอนฟันในช่วงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากการฟื้นตัวหลังการถอนฟันจะยากมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น คุณควรเข้าปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับภาวะฟันคุดกับระยะเวลาสำหรับการถอนฟันก่อนล่วงหน้าการตัดสินใจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้



จัดฟันบางนา: ฟันคุด เป็นอย่างไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร หากเรามีฟันคุด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/